คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท


คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากสถาบันการเงินที่คุณฝากเงินนั้นเกิดปิดกิจการขึ้นมา

VDO

ประเด็นเรื่องของการ "คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท" กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์ นั่นเพราะจะเริ่มมีการบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ สำหรับหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงเรื่องดังกล่าว และที่มาที่ไป เราจะพาย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นการคุ้มครอง สรุปให้เข้าใจง่ายๆ มาจนถึงปัจจุบันครับ..

จุดเริ่มต้นการคุ้มครองเงินฝาก

ในอดีตประเทศไทยเราไม่ได้มีการคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด จนกระทั่งเจอกับวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งมีสถาบันการเงินล้มหายตายจากไปจำนวนมาก รัฐบาลสมัยนั้น กังวลเรื่องความเชื่อมั่นของธนาคารที่เหลืออยู่ ก็เลยประกาศ "ค้ำประกัน" ให้กับเจ้าหนี้และผู้ฝากเงินเต็มจำนวน (โดยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มารับหนี้ดังกล่าว) นั่นคือจุดเริ่มต้นของการคุ้มครองเงินฝากในไทย

ต่อมาในปี 2546 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ดี ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็เลยเสนอไปว่าควรจะมีการจัดตั้ง "สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" ขึ้นมา เพื่อผลประโยชน์ของผู้ฝากเงินโดยตรง

ในที่สุดหลังจากร่างกฎหมายและผ่านขั้นตอนต่างๆ นานเกือบ 5 ปี ในที่สุดสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็เกิดขึ้น และการคุ้มครองเงินฝากก็บังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทำหน้าที่อย่างไร?

หน้าที่หลักๆ ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็คือการเก็บเงินจากสถาบันการเงิน/ธนาคาร มาสะสมเป็นกองทุนคุ้มครองเงินฝาก เพื่อใช้ในการจ่ายคืนกับผู้ฝากเงิน

สมมติเกิดวิกฤติหนักจนถึงขั้นธนาคารสักแห่งล้มขึ้นมา สถาบันฯ ก็จะต้องทำหน้าที่ชำระบัญชีสถาบันการเงินนั้น และนำเงินมาจ่ายคืนกับผู้ฝาก ถ้าไม่พออีก ก็จะใช้เงินกองทุน มาจ่ายเงินคืนให้กับผู้ฝากเงินโดยเร็วที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากอยู่ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร และกำลังจะถูกปรับเป็น 1 ล้านบาท ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ จนกลายเป็นกระแสดังนั่นเองครับ

ใครที่ได้รับผลกระทบ จากการปรับลดการคุ้มครองเงินฝาก?

พูดง่ายๆ ก็คือ ใครที่มีบัญชีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน ก็จะได้รับผลกระทบในกรณีเกิดเหตุวิกฤติที่สุดนั่นก็คือสถาบันการเงินล้ม จะได้รับการคุ้มครองสูงสุดเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น

คนได้รับผลกระทบเยอะแค่ไหน?

ถ้าเราอ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในไทยมีบัญชีเงินฝากรวมกันประมาณ 109 ล้านบัญชี แต่เป็นบัญชีที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท อยู่ 1.7 ล้านบัญชี หรือราวๆ 1.5% เท่านั้น หรือพูดง่ายๆ กว่าบัญชีในไทยประมาณ 98.5% จะไม่ได้รับผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายในครั้งนี้มากนัก ส่วนคนที่ได้รับผลกระทบ วิธีการปรับตัวก็คือ โยกย้ายเงินในบัญชีของเราออกไปยังสถาบันการเงินอื่น ที่ได้รับการคุ้มครองเช่นกัน ซึ่งสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง มีอยู่ทั้งสิ้น 35 แห่ง ตามรายชื่อในเว็บนี้ครับ https://www.dpa.or.th หรือพูดง่ายๆ ก็คือ กระจายเงินฝากธนาคารละ 1 ล้านบาท ไปหลายๆ ธนาคาร ซึ่งก็จะคุ้มครองเงินเราได้มากถึงหลัก 20-30 ล้านบาทแล้วนั่นเอง

หวังว่าคอนเทนต์สรุปในครั้งนี้ จะช่วยคลายข้อสงสัย และทำให้หลายๆ คนเข้าใจในเรื่องของประเด็นการคุ้มครองเงินฝาก และแนวทางการปรับตัวของเราเองกันมากยิ่งขึ้นนะครับ

ข้อมูล BillionWay


วงเงินคุ้มครอง

หากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากในสถาบันการเงินดังกล่าว จะได้รับเงินฝาก (เงินต้นและดอกเบี้ย) คืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากภายใต้วงเงินคุ้มครองที่กำหนด โดยจะคุ้มครองในลักษณะ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี) ซึ่งหมายถึง วงเงินสูงสุดที่ผู้ฝากที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตามเอกสารการเปิดบัญชีจะได้รับเงินฝากคืน ในกรณีที่ผู้ฝากมีบัญชีเงินฝากหลายบัญชีที่เปิดอยู่กับสถาบันการเงิน 1 แห่ง จะต้องนำเงินฝาก (เงินต้นและดอกเบี้ย) ในทุกสาขาและทุกบัญชีของสถาบันการเงินแห่งนั้นมารวมคำนวณ

ปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาทจนถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และจะบังคับใช้วงเงินคุ้มครองที่ 1 ล้านบาทตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป


สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
DPA Deposit Protection Agency

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  11. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  19. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)

  1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  3. ธนาคารซิตี้แบงก์
  4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
  5. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  6. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
  8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  10. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์

บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)

  1. บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)

  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

 

บทความอื่นๆ

อ่านก่อนตัดสินใจ จากใจตัวแทนประกันรายได้หลักล้าน


อนุสัญญา คืออะไร


free look


ขยายระยะเวลา


ใช้เงินสำเร็จ คืออะไร


ทุนประกัน คืออะไร


ยูนิตลิงค์ (Unit-Linked) คืออะไร?


สมาคมประกันชีวิตไทย


ทำไมต้องวางแผนประกันสุขภาพตลอดชีวิต?


ทำไมจึงไม่ควรเวนคืนกรมธรรม์เงินสด เพื่อไปซื้อกรมธรรม์ใหม่?


กรมธรรม์แบบใดบ้างที่สามารถต่ออายุ หรือเปลี่ยนแปลงความคุ้มครองได้


หากกรมธรรม์ขาดแล้ว จะต่ออายุได้หรือไม่?


เบี้ยประกันภัยของบุคคลในครอบครัว (พ่อ แม่ คู่สมรส ลูก) นำมาลดหย่อนภาษีของตนเองได้หรือไม่?


ทำไมเบี้ยประกันภัยที่ชำระจึงไม่เท่ากับเบี้ยประกันภัยที่หักลดหย่อนภาษีได้


ทำไมเบี้ยประกันภัยบางส่วนถึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี


การกู้อัตโนมัติคืออะไร มีข้อดีอย่างไร?


สามารถชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าได้หรือไม่?


สามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านตัวแทนได้หรือไม่?


กรมธรรม์ถึงกำหนดชำระวันไหน และมีเวลาในการชำระได้ถึงเมื่อใด?


ประกันสะสมทรัพย์ คืออะไร ?