ทำไมต้องวางแผนประกันสุขภาพตลอดชีวิต?


ทำไมต้องวางแผนประกันสุขภาพตลอดชีวิต?

1. คนไทยจะมีอายุยืนขึ้น

ตอนนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) แล้วครับ กล่าวคือมีคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด และคนไทยก็มีแนวโน้มอายุยืนขึ้นด้วย โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าในปี 2563 ผู้หญิงจะมีอายุเฉลี่ย 80.4 ปี ส่วนผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 73.2 ปี ซึ่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบสังคมผู้สูงอายุนั้น ก็มีการ “ขยายอายุเกษียณ” ด้วยครับ หากประเทศไทยใช้แนวคิดนี้อย่างเต็มขั้น ในอนาคตเราอาจเห็นพนักงานบริษัทอายุ 70 ปีก็เป็นได้ ดังนั้นการวางแผนชีวิตทั้งด้านการเงินและสุขภาพแบบเดิม ๆ ที่คำนวณถึงอายุ 60 ปีนั้น อาจไม่เพียงพออีกต่อไป

2. ค่ารักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น สัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือความเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขชี้ว่า 5 โรคยอดฮิตที่พบมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ข้อเข่าเสื่อม และโรคหัวใจ ซึ่งมักเป็นภาวะเรื้อรัง ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง

ตัดภาพมาที่ค่ารักษาในโรงพยาบาล ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องแอดมิทรักษาตัว ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐที่มีอุปกรณ์ค่อนข้างครบ ก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายราว 30,000-50,000 บาทต่อวัน แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง ราคาห้องเดี่ยวมาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 13,000 บาทต่อคืนเลยทีเดียว ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ๆ แต่การพักในห้องเดี่ยวก็มีความสำคัญ เพราะคนป่วยต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ ทั้งยังสะดวกต่อคนที่มาเฝ้าไข้ด้วยครับ

ทำความรู้จัก “มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่”

จากประกันสุขภาพแบบเดิมที่อาจไม่ตอบโจทย์ในปัจจุบัน ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงสร้าง “มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่” (New Health Standard) ที่ปรับปรุงเนื้อหาของประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับยุคสมัย และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการแพทย์ รวมถึงกำหนดเงื่อนไขของสัญญาให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อความเป็นธรรมกับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเราก็เลือกได้ว่าจะถือประกันสุขภาพเล่มเดิม หรือจะไปซื้อแบบประกันใหม่ที่ปรับปรุงแล้ว โดยจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 8 พ.ย. 2564

มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุอย่างไร?

อย่างที่บอกไปครับว่า คปภ.ปรับปรุงเนื้อหากรมธรรม์ประกันสุขภาพให้ทันสมัยขึ้นแล้ว จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็เช่น

  • ประกันสุขภาพเดิม : กำหนดนิยามคำว่า “ค่าห้อง” ของแต่ละแบบประกันไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
    ประกันสุขภาพใหม่ : กำหนดนิยามคำว่า “ค่าห้อง” ชัดเจนว่าหมายถึง ค่าห้อง, ค่าอาหาร และ ค่าบริการในโรงพยาบาล เหมือนกันทุกกรมธรรม์
  • ประกันสุขภาพเดิม : กำหนดค่ารักษามะเร็งชัดเจนเพียงแค่เคมีบำบัด (คีโม) และรังสีรักษา (ฉายแสง) เท่านั้น
    ประกันสุขภาพใหม่ : กำหนดค่ารักษามะเร็งที่ครอบคลุมทั้งรังสีรักษา, รังสีร่วมรักษา, เวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา, การฝังแร่รักษามะเร็ง และการรักษาแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง
  • ประกันสุขภาพเดิม : ในการต่อสัญญาจะมีเงื่อนไขระบุว่า “บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม”
    ประกันสุขภาพใหม่ : ระบุชัดเจนว่าบริษัทจะไม่ต่อสัญญาไม่ได้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะทำผิดเงื่อนไขในการไม่แจ้งข้อเท็จจริง, เรียกร้องผลประโยชน์โดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ หรือเรียกร้องค่าชดเชยจากการนอนโรงพยาบาล รวมกันทุกบริษัทเกินกว่ารายได้ที่แท้จริง

ข้อมูล aommoney

บทความอื่นๆ

อ่านก่อนตัดสินใจ จากใจตัวแทนประกันรายได้หลักล้าน


อนุสัญญา คืออะไร


free look


ขยายระยะเวลา


ใช้เงินสำเร็จ คืออะไร


ทุนประกัน คืออะไร


ยูนิตลิงค์ (Unit-Linked) คืออะไร?


สมาคมประกันชีวิตไทย


ทำไมจึงไม่ควรเวนคืนกรมธรรม์เงินสด เพื่อไปซื้อกรมธรรม์ใหม่?


กรมธรรม์แบบใดบ้างที่สามารถต่ออายุ หรือเปลี่ยนแปลงความคุ้มครองได้


หากกรมธรรม์ขาดแล้ว จะต่ออายุได้หรือไม่?


เบี้ยประกันภัยของบุคคลในครอบครัว (พ่อ แม่ คู่สมรส ลูก) นำมาลดหย่อนภาษีของตนเองได้หรือไม่?


ทำไมเบี้ยประกันภัยที่ชำระจึงไม่เท่ากับเบี้ยประกันภัยที่หักลดหย่อนภาษีได้


ทำไมเบี้ยประกันภัยบางส่วนถึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี


การกู้อัตโนมัติคืออะไร มีข้อดีอย่างไร?


สามารถชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าได้หรือไม่?


สามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านตัวแทนได้หรือไม่?


กรมธรรม์ถึงกำหนดชำระวันไหน และมีเวลาในการชำระได้ถึงเมื่อใด?


ประกันสะสมทรัพย์ คืออะไร ?


ทำไมผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ถึงต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงกว่าคนปกติ?